warehouse management system คืออะไร? จำเป็นแค่ไหนในยุคนี้

warehouse-management-system
warehouse management system

        Warehouse Management System (WMS) หรือระบบการจัดการคลังสินค้า ประกอบด้วย Software และกระบวนการที่ให้องค์กรของคุณสามารถควบคุมและจัดการงานในคลังสินค้า ตั้งแต่เวลาที่สินค้าเข้าสู่คลังสินค้าจนถึงการเคลื่อนย้ายออก

 

       Warehouse Management System ทำงานอย่างไร

      คลังสินค้าเป็นศูนย์กลางของการดำเนินการด้านการผลิตและ Supply Chain เป็นการรวบรวมวัสดุทั้งหมดที่ใช้หรือผลิตในกระบวนการเหล่านั้น ตั้งแต่วัตถุดิบไปจนถึงสินค้าสำเร็จรูป จุดประสงค์ของ WMS คือเพื่อช่วยให้มั่นใจว่าสินค้าและวัสดุมีการเคลื่อนย้ายผ่านคลังสินค้า ด้วยวิธีที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่าที่สุด และช่วยจัดการฟังก์ชั่นมากมายที่เกี่ยวกับการเคลื่อนย้าย เช่น การนำเข้าหรือส่งออก รวมถึงการติดตามสินค้าคงคลัง การหยิบสินค้า การรับและการเก็บรักษา

       นอกจากนี้ WMS ยังช่วยให้สามารถมองเห็นสินค้าคงคลังขององค์กรได้ตลอดเวลาและที่อยู่ของสินค้า ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกในการติดตามสินค้าไม่ว่าจะอยู่ในสต๊อคหรืออยู่ระหว่างการขนส่ง

 

       คุณสมบัติของ  Warehouse Management System

       – Warehouse design ช่วยให้องค์กรสามารถปรับแต่ง Workflow และลอจิกของการ Picking ได้ เพื่อทำให้มั่นใจว่าคลังสินค้าได้รับการออกแบบมาเพื่อการจัดสรรสินค้าคงคลังที่เหมาะสม และ WMS ยังสามารถสร้างข้อมูลใน Storage และบัญชีสำหรับจัดเก็บรายงานของสินค้าต่างๆ ในแต่ละช่วง

       – Inventory tracking ช่วยให้สามารถใช้ระบบการติดตาม ระบุตัวตนและการบันทึกข้อมูลอัตโนมัติ (AIDC) รวมถึงเครื่องสแกน RFID และบาร์โค้ดเพื่อให้แน่ใจว่าสามารถหาสินค้าได้ง่ายเมื่อมีการจัดส่งหรือเคลื่อนย้าย

       – Receiving and putaway ซึ่งช่วยให้สามารถเก็บและเรียกคืนสินค้าคงคลังได้ โดยใช้เทคโนโลยี Pick-to-Light หรือ Pick-to-Voice เพื่อช่วยให้พนักงานในคลังสินค้าค้นหาสินค้าได้

       – Picking and packing goods รวมถึงพื้นที่ในการ Picking และ Batch Picking ซึ่งพนักงานคลังสินค้าสามารถใช้ฟังก์ชันจากการแบ่งโซน เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการหยิบและแพ็คงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

       – Shipping ซึ่งทำให้ WMS สามารถส่งบิลจาก (B / L) ก่อนการขนส่งได้ สร้างรายการในการหยิบสินค้า และใบกำกับสินค้าสำหรับการจัดส่ง และการแจ้งเตือนการจัดส่งล่วงหน้าไปยังผู้รับ

       – Labor management ช่วยให้ผู้จัดการคลังสินค้าตรวจสอบประสิทธิภาพของคนงาน โดยใช้ KPI ที่จะบ่งบอกได้ถึงมาตรฐานการทำงานของคนงานว่าสูงกว่าหรือต่ำกว่ามาตรฐาน

       – Yard and dock management ช่วยให้คนขับรถบรรทุกเข้ามาในคลังสินค้า ค้นหาช่องจอดได้อย่างเหมาะสม ลดความซับซ้อนของการใช้งานลานจอดรถ โดยใช้ระบบการจัดการพื้นที่ในส่วนนี้ และยังช่วยจัดการฟังก์ชันอื่น ๆ ของโลจิสติกส์ขาเข้าและขาออกได้

       – Reporting ช่วยให้ผู้จัดการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของการดำเนินในงานคลังสินค้า และค้นหาพื้นที่ที่ยังต้องปรับปรุง

 

       ประโยชน์ของระบบการจัดการคลังสินค้า

       แม้ว่า  WMS จะมีความซับซ้อนและมีราคาแพงในการดำเนินการ แต่องค์กรต่างๆ ก็ได้รับประโยชน์มากมาย ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าคุ้มค่าในการลงทุน

       การใช้ WMS ช่วยให้องค์กรลดต้นทุนด้านแรงงาน ปรับปรุงความถูกต้องของสินค้าคงคลัง ปรับปรุงความยืดหยุ่นและการตอบสนอง ลดข้อผิดพลาดในการหยิบและจัดส่งสินค้าและปรับปรุงการบริการลูกค้า ซึ่งระบบการจัดการคลังสินค้าสมัยใหม่ทำงานด้วยข้อมูลแบบ Real-Time ทำให้องค์กรสามารถจัดการข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ ได้ เช่น คำสั่งซื้อ การจัดส่ง ใบเสร็จรับเงิน และการขนส่งสินค้า

 

       WMS และ IoT

       อุปกรณ์เชื่อมต่อและเซ็นเซอร์ในสินค้า ช่วยให้องค์กรมั่นใจได้ว่าสามารถผลิตและจัดส่งสินค้าในปริมาณที่เหมาะสม ในราคาที่เหมาะสม ไปยังสถานที่ที่เหมาะสม และในเวลาที่เหมาะสม ซึ่งความสามารถทั้งหมดนี้ จะทำให้ราคาต้นทุนถูกลงและแพร่หลายมากขึ้นโดยเทคโนโลยี IoT

       ซึ่งข้อมูลที่ได้รับจากการใช้เทคโนโลยี IoT ดังกล่าว สามารถนำมารวมเข้ากับ WMS เพื่อช่วยจัดการกำหนดจุดรับสินค้าไปยังจุดสิ้นสุดของผลิตภัณฑ์ โดยการบูรณาการจะช่วยให้องค์กรสามารถพัฒนา Supply Chains เป็นแบบ Pull-Based Supply Chains แทนที่จะเป็นแบบ Push-Based Supply Chains

       ซึ่งแบบ Pull-Based Supply Chains ถูกขับเคลื่อนโดยความต้องการของลูกค้า ซึ่งช่วยให้องค์กรมีความยืดหยุ่นและตอบสนองได้ดีขึ้น ในขณะที่ Push-Based Supply Chains ถูกขับเคลื่อนจากการคาดการณ์ความต้องการของลูกค้าในระยะยาว

เรียบเรียงและแปลข้อมูลจาก : https://searcherp.techtarget.com