ยกระดับคลังสินค้าของคุณให้เป็น “SMART WAREHOUSE” ด้วย 5 สิ่งนี้ !!

SMART WAREHOUSE

SMART WAREHOUSE

       เมื่อคลังสินค้าไม่ใช่เพียงพื้นที่ธรรมดาสำหรับเก็บสินค้าแบบเดิมอีกต่อไป แต่สามารถเปลี่ยนแปลงสู่ระบบอัจฉริยะหรือ Smart Warehouse ได้ด้วยเทคโนโลยี! 

       ลูกค้าต่างก็ต้องการรายการสินค้าและการจัดส่งในระยะเวลาที่รวดเร็วที่สุด เพื่อตอบสนองความต้องการในไลฟ์สไตล์ของคนยุคใหม่ในตอนนี้ 

       แต่สำหรับหลายๆ องค์กรและผู้เชี่ยวชาญด้านคลังสินค้าและโลจิสติกส์ ต่างกล่าวว่าความต้องการของลูกค้าเหล่านี้อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ของโมเดลในธุรกิจนี้ได้

       ตัวอย่างเช่น คลังสินค้าอัจฉริยะของ Amazon, Ocado และ Alibaba ของจีน ซึ่งมีหุ่นยนต์ทำงานอยู่ 70% ในโรงงาน กำลังทำให้เกิดความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นบรรทัดฐานใหม่ให้กับธุรกิจประเภทเดียวกัน ในทางกลับกัน นี่ก็เป็นสิ่งที่บังคับให้คู่แข่งของบริษัทเหล่านี้เปลี่ยนวิธีการจัดเก็บและการขนส่ง เพื่อที่จะแข่งขันกับรอบการจัดส่งในวันถัดไป และเกิดกระบวนการที่มีประสิทธิภาพและถูกกว่าของบริษัทยักษ์ใหญ่

       เราต่างก็รู้กันดีว่าระบบอัตโนมัติในเกิดขึ้นจากความก้าวหน้าของหุ่นยนต์อุตสาหกรรม และมีเทคโนโลยีอื่นๆ มาเกี่ยวข้อง เช่น โดรน ที่กำลังสร้างความเร็วและความปลอดภัยมากขึ้นเมื่ออยู่ร่วมกับมนุษย์ ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน เช่น ในโกดัง

       แต่สำหรับเทรนด์อื่นๆ ที่ส่งผลต่อคลังสินค้ามีอะไรบ้าง? ไปดูกันต่อเลยค่ะ

take-a-look-inside-alibabas-smart-warehouse-where-robots-do-70-of-the-work-640x480

1. หุ่นยนต์และการ cognitive computing

       การใช้คำสั่งจาก Amazon, Alibaba และอื่นๆ กระบวนการอัตโนมัติจะถูกส่งไปยังส่วนกลาง ไม่เพียงแต่ผ่านหุ่นยนต์ที่มีหน้าที่ทำงานซ้ำๆ เท่านั้น แต่ยังต้องผ่านซอฟต์แวร์หุ่นยนต์และการ cognitive computing เช่น AI และ machine learning อีกด้วย

       เมื่อเทคโนโลยีสองอย่างรวมกันจึงทำให้เกิดกระบวนการหุ่นยนต์อัตโนมัติ (RPA) ซึ่งเกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์หรือบอทขนาดเล็กที่ทำหน้าที่ซ้ำๆ ได้ และ cognitive computing

       เทคโนโลยีนี้จะสามารถสร้างความแตกต่างได้อย่างมากเมื่อพูดถึงในเชิงของข้อมูล โดยทำให้ผู้ใช้งานสามารถมุ่งเน้นไปที่งานหลักที่สำคัญอย่างแท้จริง เมื่อรวม RPA เข้ากับ cognitive analysisจะทำให้โปรแกรมสามารถทำตัวเหมือนมนุษย์ โดยการตัดสินใจทางธุรกิจได้ทันที

2. Predictive maintenance

       การผสมผสานของเทคโนโลยีที่แตกต่างกัน กำลังส่งผลกระทบต่อแนวคิดการบำรุงรักษาแบบดั้งเดิม

       การมาถึงของ Internet of Things (IoT) และเทคโนโลยีที่ support ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่จากเดิมเป็นการบำรุงรักษาแบบโต้ตอบ นั่นก็คือรอให้อุปกรณ์และเครื่องจักรเสียหายแล้วจึงซ่อมบำรุง

       แต่ในวันนี้การผสมผสานของเทคโนโลยี รวมถึงการจัดการสินทรัพย์ขององค์กร (EAM) ,การแสดงวัตถุและส่วนประกอบแบบ 3 มิติ, ระบบเซ็นเซอร์, แท็ก RFID ,smart supply chain และ AI ช่วยให้องค์กรได้รับข้อมูลเชิงลึกของผลิตภัณฑ์อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ทั้งส่วนประกอบและวัสดุที่ใช้

       การใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ ไม่เพียงแต่สามารถบอกองค์กรได้ว่าจำเป็นต้องแก้ไข บำรุงรักษา หรืออัปเกรดเมื่อไหร่ แต่ยังคาดการณ์ได้ว่าเครื่องจักรหรืออุปกรณ์เหล่านี้จะมีความเสียหายเมื่อใดอีกด้วย ซึ่งทำให้กระบวนการ maintenance เป็นไปอย่างสมบูรณ์ 

       คลังสินค้าทั่วโลกกำลังนำกระบวนการบำรุงรักษาเชิงรุกมาใช้มากขึ้น เพื่อให้อุปกรณ์มีโอกาสที่จะเกิดความเสียหายและใช้เวลาแก้ไขน้อยลง และแน่นอนว่า สามารถใช้กระบวนการเดียวกันนี้ในการเช็คสต๊อคที่เน่าเสียง่ายได้

       ซึ่งการตรวจสอบที่ครอบคลุมจะช่วยหลีกเลี่ยงหรือลดการ downtime และเพิ่มประสิทธิภาพในขั้นตอนการบำรุงรักษาได้ 

       โดยพื้นฐานแล้ว ยิ่งเราสามารถรับรู้ปัญหาและวิเคราะห์ได้เร็วเท่าใด เราก็ยิ่งสามารถดำเนินการซ่อมแซมได้เร็วเท่านั้น ก่อนที่ปัญหาเล็กน้อยจะกลายเป็นปัญหาใหญ่

3. Warehousing on demand

       ทุกคนต่างคุ้นเคยกับแพลตฟอร์มและแอพที่แชร์ร่วมกัน เช่น Uber, Airbnb และ Laundrapp ที่ได้เข้ามา disrupt งานในส่วนนี้ที่มีมานานหลายยุคหลายสมัย  เช่น การรับส่งส่วนบุคคล ที่พัก และการทำความสะอาด แต่สิ่งที่น้อยคนนักที่จะตระหนักถึง คือในตอนนี้มีการนำแบบจำลองเหล่านี้ไปใช้กับคลังสินค้าอุตสาหกรรมอีกด้วย

       ตัวอย่างเช่น Flexe ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพในสหรัฐอเมริกา และ Stowga ในสหราชอาณาจักรได้สร้าง app และ cloud platform ที่เปลี่ยนทั้งด้านการซื้อและขายของตลาด โดยอนุญาตให้เจ้าของคลังสินค้าให้เช่าพื้นที่ว่าง และลูกค้าสามารถกำหนดเวลาเช่าได้ตามต้องการ ที่มีตั้งแต่วันไปจนถึงเดือน

       ความคิดนี้อาจฟังดูเหมือนง่าย แต่นั่นก็สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้มากพอ 

       ตัวอย่างเช่น องค์กรต่างๆ ไม่จำเป็นต้องคิดเรื่องคลังสินค้าในเรื่องของเงื่อนไขหรือข้อกำหนดในการสร้าง hub ระดับภูมิภาคขนาดใหญ่ที่ต้องการการขนส่งทางไกลอีกต่อไป (ด้วยค่าใช้จ่ายและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม) แต่ในตอนนี้พวกเขาสามารถจัดการได้ในระดับนานาชาติจากแนวคิดนี้ที่สามารถขยายหรือทำสัญญาได้ตามต้องการ

       ในขณะเดียวกัน ด้านการขายสินค้า องค์กรต่างๆ ไม่จำเป็นต้องแบกรับสินค้าที่ไม่ได้ใช้จำนวนมาก ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายอีกต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเศรษฐกิจไม่สามารถคาดการณ์ได้ ด้วยแพลตฟอร์มใหม่เหล่านี้ ทำให้พื้นที่ที่ไม่ได้งานถูกพัฒนาให้กลายเป็นทรัพย์สินทางการค้าได้

       ในทางกลับกัน โมเดลนี้สามารถช่วยสร้างพื้นที่สีน้ำตาลและอาคารที่ไม่ได้ใช้ขึ้นใหม่ได้ เช่นเดียวกับที่ Airbnb ที่ได้ผลักดันให้ผู้คนลงทุนและปรับปรุงที่พักส่วนตัว

4. การพิมพ์ 3 มิติและโคบอท

       ในอนาคต ความแตกต่างระหว่างพื้นโรงงานและคลังสินค้าอาจเริ่มหายไป เมื่อโรงงานบางแห่งลดขนาดการผลิตให้เล็กลง ไปสู่การผลิตตามความต้องการ ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ 

       ตัวอย่างเช่น คลังสินค้าบางแห่งอาจมีขนาดเล็กลง มีความอัจฉริยะมากขึ้น และทำงานผสานรวมกับการผลิตอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น แม้ว่าคลังสินค้าอื่นๆ จะทำตามแบบจำลองของอาลีบาบาโดยการทำให้ใหญ่ขึ้นและเป็นระบบอัตโนมัติมากขึ้น

       เทคโนโลยีต่างๆ เช่น โคบอทที่ตั้งโปรแกรมได้ สามารถทำงานร่วมกับมนุษย์ได้จะมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ smartphone จะกลายเป็นแพลตฟอร์มที่สามารถตั้งโปรแกรมได้สำหรับกระบวนการต่างๆ หรือแอปสำหรับงานอุตสาหกรรม 

       การพิมพ์ 3 มิติจะเป็นอีกส่วนผสมหนึ่ง ซึ่งองค์กรส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับแนวคิดของการใช้เทคโนโลยีนี้สำหรับโครงการขนาดเล็กและมีความเฉพาะทาง อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ในอุตสาหกรรม 4.0 บางคนเชื่อว่าการพิมพ์ 3 มิติจะกลายเป็นเครื่องมือที่สำคัญมากขึ้น ในระดับที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ

       การพิมพ์ 3 มิติทำให้เกิดความยืดหยุ่นในการออกแบบ การผลิต และการบริการมาสู่หลายอุตสาหกรรม เมื่อความเร็ว คุณภาพ และวัสดุดีขึ้น ผู้ที่สามารถมองเห็นโอกาสใหม่ๆ ได้เร็วกว่าจะเป็นผู้ชนะ

       คลังสินค้าในวันนี้อาจสร้างข้อจำกัดให้กับผู้ผลิตส่วนใหญ่ แต่เราได้เห็นแล้วว่า ความสามารถของ ‘ศูนย์กลางการผลิต’ ทำให้สินค้าถูกผลิตได้ตามความต้องการของลูกค้าที่หลากหลายและจัดส่งได้ภายในระยะเวลาอันสั้น

       “การผลิตได้กลายเป็นส่วนสำคัญของ supply chain และโลจิสติกส์อย่างแท้จริง ความยืดหยุ่นในการผลิตตามรายการสั่งซื้อ หมายถึงการมีเครื่องพิมพ์ วัสดุ และการออกแบบที่เหมาะสมที่พร้อมสำหรับการสั่งซื้อของลูกค้า ซึ่งทำให้เราย้อนกลับไปสู่ความจริงที่ว่าอุตสาหกรรม 4.0 อันที่จริงแล้วเป็นเรื่องของข้อมูลนั่นเอง”

5. มาตรฐานและข้อบังคับของเทคโนโลยี IoT

       คลังสินค้าอัจฉริยะในปัจจุบันถูกเปลี่ยนแปลงโดยการปรับใช้เซ็นเซอร์ที่เชื่อมต่อกับ IoT เพื่อให้หุ่นยนต์ พนักงาน ผู้จัดการ หรือแม้แต่ยานพาหนะอัจฉริยะ รู้ตำแหน่งสินค้าทุกรายการและสามารถติดตามการเดินทางของสินค้าได้

       แต่ยังไม่มีมาตรฐานใดที่จะกำหนดได้ว่าอุปกรณ์ IoT ควรสื่อสาร หรือจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลกันอย่างไร 

       ซึ่งเป็นสิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงไปในไม่ช้านี้ เมื่อเทคโนโลยี IoT กำลังเข้ามา disrupt ทุกอุตสาหกรรม และดูเหมือนว่าอนาคตจะดีขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย ซึ่งการเกิดขึ้นของ IoT ได้สร้างความอัศจรรย์สำหรับซัพพลายเชน และน่าตื่นเต้นเป็นพิเศษเมื่อเทคโนโลยีมีราคาถูกลงและพร้อมใช้งานมากขึ้น ซึ่งหมายความว่าขณะนี้สามารถปรับใช้ในวงกว้างได้

       อย่างไรก็ตาม แม้จะมีความแปลกใหม่ที่ทำให้น่าตื่นเต้น แต่ปัญหาบางอย่าอาจยังคงอยู่ เนื่องจากเทคโนโลยี IoT นั้นมีการใช้อย่างแพร่หลายก็จริงแต่การใช้งานก็ยังไม่ได้เป็นมาตรฐานเดียวกับ

เรียบเรียงและแปลข้อมูลจาก : https://internetofbusiness.com/five-predictions-future-smart-warehousing/