Energy Management : อีกขั้นของการพัฒนา Supply Chain อย่างยั่งยืน

Energy-Management

อีกขั้นของ Supply Chain

Energy Management - Supply Chain

       เมื่อพิจารณาถึงวิธีการใหม่ๆ ในการเพิ่มประสิทธิภาพ supply chain องค์กรขนาดใหญ่หลายแห่ง เช่น UPS, Amazon, Walmart และ FedEx ต่างให้ความสำคัญกับการปรับปรุงเทคโนโลยีเป็นอันดับแรก เช่น Hyperautomation, ปัญญาประดิษฐ์ (AI), edge computing, 5G และ virtual reality ซึ่งเป็นวิธีล่าสุดในการปรับปรุงการขนส่งและโลจิสติกส์เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าและการเพิ่มผลกำไร

       แต่ความกังวลเกี่ยวกับ supply chain ในปัจจุบันมีมากกว่าการแก้ไขด้านไอที ซึ่งรวมถึงปัญหาที่มีความสำคัญต่อ C-Suite เช่น ไฟดับ สภาพอากาศเลวร้ายและไฟป่า ซึ่งเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของการชะลอของ supply-chain นอกจากนี้ การให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม โดย ESG กำลังเปลี่ยนแปลงด้วยการเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้า (EV) และการพึ่งพาพลังงานแสงอาทิตย์และลม ซึ่งเป็นพลังงานความเย็นและเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกมากขึ้น

       Energy management ได้นำเสนอวิธีการใหม่ๆ ที่สร้างสรรค์ในการเพิ่มประสิทธิภาพ supply-chain โดยการเสริมสร้างความยืดหยุ่นในการเผชิญกับปัญหาไฟฟ้าดับ และตอบสนองความต้องการของลูกค้าสำหรับแนวทางปฏิบัติที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและยั่งยืน ด้วยกลยุทธ์ด้านพลังงานที่ชาญฉลาดนี้ยังช่วยให้องค์กรมีโอกาสในการสร้างรายได้เพิ่มขึ้นผ่านการมีส่วนร่วมในตลาดพลังงาน

 

       GETTING SMART ABOUT ENERGY MANAGEMENT

       องค์กรหลายแห่งสามารถลดต้นทุนการใช้พลังงานได้ด้วยการเซ็นสัญญากับผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระ (IPP) แต่พวกเขาก็ยังต้องต่อสู้กับค่าใช้จ่ายที่เกิดจาก Demand ที่ไม่สามารถคาดเดาได้ และเนื่องจากองค์กรต่างๆ ได้สร้าง EV และเพิ่มสถานีชาร์จ จึงต้องพิจารณาถึงต้นทุนและความซับซ้อนในการบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซลสำหรับการสำรองและต้องกำหนดวิธีที่ดีที่สุดในการรวมพลังงานสีเขียวเข้าด้วยกัน

       องค์กรที่ฉลาดในการใช้พลังงานจะส่งผลดีต่อ supply- chain ของตนได้ การพัฒนาแผนบริการด้านพลังงานและการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี ซึ่งรวมถึง AI การจัดเก็บพลังงาน และระบบอัตโนมัติสามารถปรับปรุงการมองเห็นและควบคุมชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหวเหล่านี้ได้

       ด้วยกลยุทธ์การจัดการพลังงานที่ชาญฉลาดที่เหมาะสม supply chain ต้องปรับให้เหมาะสมกับ :

 

  • การเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียน

       แสงอาทิตย์และลมสามารถกลายเป็นทรัพยากรที่ยืดหยุ่นซึ่งปรับให้เข้ากับอัตราสาธารณูปโภคที่เปลี่ยนแปลงไป และช่วยลดความต้องการสูงสุดลงเมื่อจับคู่กับแหล่งกักเก็บพลังงาน ตัวอย่างเช่น องค์กรต่างๆ สามารถปล่อยพลังงานสะอาดที่จัดเก็บไว้ได้ เมื่อไฟฟ้ามีราคาแพงกว่าหรือมีการชาร์จไฟ EV fleet

 

  • ปรับปรุงความยืดหยุ่น

       องค์กรต่างๆ ไม่สามารถควบคุมสภาพอากาศที่รุนแรง คลื่นความร้อน ไฟป่า น้ำท่วม ไฟดับหรือโครงสร้างพื้นฐานที่มีอายุมากขึ้นได้ แต่สิ่งเหล่านี้ส่งผลเสียต่อความต่อเนื่องของ supply-chain ซึ่งกลยุทธ์ด้าน smart energy สามารถลดความเสี่ยงเหล่านี้ และรับประกันพลังงานสำรองโดยไม่ต้องใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซลราคาแพงและไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

 

  • สอดคล้องกับนโยบายพลังงาน

       เมื่อรัฐต่างๆ กำหนดเป้าหมายความยั่งยืนเชิงรุกมากขึ้น ทำให้กลยุทธ์ด้าน smart energy สามารถ support โครงการริเริ่มต่างๆ เช่น การปรับใช้โครงสร้างพื้นฐานการชาร์จ EV และยานพาหนะที่ปราศจากการปล่อยมลพิษ และเพิ่มการพึ่งพาพลังงานหมุนเวียน

 

  • บรรลุเป้าหมาย ESG ขององค์กร

       นักลงทุนและลูกค้าต่างสนับสนุนแบรนด์ที่แสดงความเป็นผู้นำด้านความยั่งยืนมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเครื่องมือที่รวมการจัดเก็บพลังงานเข้ากับการวิเคราะห์ข้อมูลแบบ real-time สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรหมุนเวียนและลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลได้

 

  • เพิ่มแหล่งรายได้ใหม่

       ด้วยแพลตฟอร์มที่เหมาะสม องค์กรต่างๆ สามารถเข้าร่วมในตลาดค้าส่งได้ การจัดเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ส่วนเกิน สามารถทำให้องค์กรต่างๆ มีส่วนร่วมในตลาดพลังงาน ซึ่งเป็นการสร้างช่องทางรายได้ใหม่และเพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุนด้าน smart energy

 

       ในตอนนี้ มีเพียงบริษัทโลจิสติกส์ระดับโลกไม่กี่แห่งเท่านั้น ที่เลือกใช้การจัดการ Smart Energy การสร้างสิ่งที่บางคนเรียกว่า “hub of the future” หรือการที่บริษัทต่างๆ รวมแหล่งพลังงานหมุนเวียนเข้าด้วยกัน การวิเคราะห์ขั้น advanced และการจัดเก็บพลังงานเพื่อรองรับการใช้พลังงานไฟฟ้าและการชาร์จ EV พลังงานสำรองและการจัดการเพื่อสนับสนุน ESG และเป้าหมายความยั่งยืน และการเปิดประตูสู่การมีส่วนร่วมในตลาดค้าส่ง

       แต่กลยุทธ์เหล่านี้ไม่ได้สงวนไว้สำหรับองค์กรที่ใหญ่ที่สุดเท่านั้น ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี นโยบายพลังงานใหม่และ ROI ที่ดีขึ้นเมื่อติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์ ทำให้บริษัททุกขนาดสามารถเข้าถึงประโยชน์เหล่านี้ได้ ถึงเวลาแล้วที่เราจะมองข้ามการปรับปรุงด้านไอทีตามปกติและเพิ่มประสิทธิภาพ supply-chain ด้วยการจัดการ Smart Energy ซึ่งเป็นข้อดี 3 ประการ ได้แก่ การประหยัดเงิน การเพิ่มแหล่งรายได้ใหม่ และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

เรียบเรียงและแปลข้อมูลจาก :  https://www.inboundlogistics.com