การเริ่มต้นของธุรกิจ E-Commerce Startup นั้น อาจมีข้อได้เปรียบจากการเติบโตที่มาจากลูกค้าจริงและรายได้จริง แต่ความสำเร็จนี้อาจทำให้คุณก้าวลงสู่เหวได้ หากคุณมีค่าใช้จ่ายมากเกินไปในการขนส่งหรือการจัดส่งไม่เป็นไปตามที่ลูกค้าคาดหวังไว้อีกต่อไป
บางทีธุรกิจของคุณอาจเป็นการขายสินค้าแบบ Unique เช่น ของเล่นสำหรับสัตว์เลี้ยงปลอดสารพิษ หรือการตกแต่งบ้านที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยไม่คำนึงถึงการผสมผสานผลิตภัณฑ์ ทำให้บริษัทเติบโตอย่างรวดเร็วกว่าระบบโลจิสติกส์ที่คุณใช้อยู่ในปัจจุบัน และนั่นคือฝันร้ายในระบบการขนส่งของธุรกิจคุณนั่นเอง
ข้อดีอย่างหนึ่งของการเป็นธุรกิจ Startup คือคุณไม่ต้องปวดหัวกับระบบและขั้นตอนแบบเดิมที่มีอยู่แล้ว เพราะคุณสามารถหาแนวทาง วิธีการ และขั้นตอนที่ดีที่สุดได้ตั้งแต่เริ่มต้น แทนที่จะต้องปรับเปลี่ยนหาเส้นทางใหม่ที่ดีที่สุดอยู่ตลอดเวลา ซึ่งคุณสามารถที่จะรวบรวมเทคโนโลยีและนำการวิเคราะห์ต่างๆ ที่จะช่วยควบคุมต้นทุนและการขนส่งที่ดีขึ้นตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้
มีนักปราชญ์คนหนึ่งเคยพูดว่า “คุณควรเรียนรู้วิธีจัดการสินค้าคงคลังก่อนที่ระบบเหล่านั้นจะเข้ามาจัดการคุณ” ซึ่งสินค้าคงคลังที่มาจากชั้นวางหรือ Rack นั้นเป็นส่วนหนึ่งของการลงทุนในธุรกิจ และระบบการติดตามสินค้าคงคลังนั้นก็มีความสำคัญกับรายได้และนำไปสู่การวิเคราะห์ที่มีความซับซ้อน และนำไปสู่การแนะนำเพื่อวางแผนในเชิงกลยุทธ์ได้ดียิ่งขึ้น
การจัดการด้านโลจิสติกส์ใน E-Commerce ถือเป็นสิ่งสำคัญ โดยเป็นแกนหลักของบริษัท ขึ้นอยู่กับว่าคุณอยู่ใน Stage ใด ซึ่งในตอนนี้อาจถึงเวลาแล้ว ที่คุณอาจต้องร่วมมือกับ Third Party เพื่อจัดการในเรื่องของการใช้ Store จัดเก็บของและการให้บริการของคุณ
หากคุณกำลังวางแผนสำหรับอนาคตของธุรกิจอยู่นัั้น นี่คือ 7 สิ่งที่คุณควรพิจารณา เพื่อยกระดับโลจิสติกส์ใน E-Commerce ให้ก้าวไปอีกขึ้น
1. Demand Planning
ในธุรกิจค้าปลีกมักจะใช้การคาดการณ์โดยอิงตามข้อมูลย้อนหลังในอดีต แต่สำหรับ Startup นั้นจะสามารถรู้ได้อย่างไรว่าต้องการสินค้าคงคลังมากแค่ไหน? เรามีเทคนิค 2-3 อย่าง ที่จะช่วยให้คุณสร้างข้อมูลการขายย้อนหลังเองได้
ขั้นแรก ตรวจสอบการเข้าชมเว็บไซต์และ Social Platform ของคุณ หากได้ผล คุณจะรู้แนวโน้มความต้องการและช่วงระยะเวลาที่ชัดเจนขึ้น ส่งผลให้คุณสามารถเตรียมพร้อมไว้ก่อนได้ เช่น แนวโน้มตามฤดูกาล การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ การซื้อในช่วงวันหยุด หากการมาถึงของฤดูใบไม้ผลิที่เร็วกว่าปีก่อนๆ อาจทำให้ของใช้ เสื้อผ้าได้รับความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อน
แน่นอนว่า การสต๊อกสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการในการส่งเสริมการขาย เช่น โค้ดส่วนลดและเกณฑ์การจัดส่งฟรี พื้นที่คลังสินค้าที่ปรับขนาดได้สามารถช่วยให้คุณวางแผนสำหรับความต้องการที่เพิ่มขึ้น โดยไม่ต้องลงทุนในสัญญาเช่าระยะยาว
2. Visibility
เนื่องจากความต้องการด้านโลจิสติกส์ใน E-Commerce เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้การมองภาพรวมยากมากขึ้น โดยบริษัทที่เติบโตอย่างรวดเร็วเช่นนี้ อาจเพิ่มขีดความสามารถด้านโลจิสติกส์ในเรื่องความเร็วในการจัดการออเดอร์คำสั่งซื้อ และสินค้า ซึ่งอาจนำไปใช้ในคลังสินค้าอีกหลายๆ แห่ง หรือเพิ่มการวางแผนกลยุทธ์ด้านโลจิสติกส์อื่นๆ
อย่างไรก็ตาม การติดตามชิ้นส่วนหรือผลิตภัณฑ์ที่ไม่สมบูรณ์ อาจทำให้บริษัทไม่สามารถมองภาพรวมของสินค้าคงคลังและประสิทธิภาพการขายได้ไม่ดีนัก ซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะเห็นสถานะของคลังสินค้า และเห็นปริมาณสินค้าที่มีทั้งหมดได้
หากลูกค้าสามารถดูสินค้าได้ว่าพร้อมส่งหรือไม่ก่อนผ่านขั้นตอนการชำระเงิน จะทำให้สต๊อกสินค้าเพียงพอต่อความต้องการ แต่นั่นอาจไม่เพียงพอต่อสินค้าที่อยู่บนชั้นวางสำหรับระบบจ่ายเงินสด ทำให้การหาทางออกอาจแตกต่างกันไปตามตลาดของสินค้านั้นๆ และต้องเปลี่ยนไปตามเป้าหมายอยู่เสมอ คุณต้องหาผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ที่ช่วยคุณพัฒนาระบบและระเบียบในการปฏิบัติงาน เพื่อให้คลังสินค้าของคุณทำงานได้ตามกระบวนการ
3. Free Shipping
จากการศึกษาพบว่า 73% ของผู้ซื้อออนไลน์กล่าวว่าการจัดส่งฟรีแบบไม่มีเงื่อนไขนั้น มีความสำคัญต่อการตัดสินใจซื้อ โดยตามรายงานของนิตยสาร Inc. นิตยสาร Fortune รายงานว่า Amazon มีสมาชิก Prime มากกว่า 100 ล้านรายทั่วโลก ดังนั้น การจัดส่งฟรีและรวดเร็วจึงมีความสำคัญต่อผู้บริโภคอย่างเห็นได้ชัด
การมาถึงของการจัดส่งฟรีเป็นทั้งคำสาปและพรสำหรับธุรกิจ E-Commerce ที่ต้องใช้ระยะเวลามาตรฐานประมาณ 10 วันในนการจัดส่ง จากนั้นในปี 2014 เวลาการจัดส่งกลับลดลงเหลือประมาณ 6 วัน ต่อมาในปี 2559 ลดลงเหลือ 3 วัน จนตอนนี้ใกล้จะถึง 2 วันแล้ว และจัดส่งเพียงข้ามคืนหากเป็นสินค้าจาก Amazon บางรายการ
ความคิดเรื่องการจัดส่งแบบไม่เสียค่าใช้จ่าย ช่วยกระตุ้นให้เกิดการซื้อสินค้าออนไลน์จำนวนมาก ทำให้ผู้จัดส่งต้องมีระบบโลจิสติกส์ที่ดี เพื่อลดต้นทุนและสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า
ในตอนนี้ ลูกค้าคาดว่าจะได้รับสินค้าภายใน 2 – 3 วัน แบบไม่ต้องจ่ายเพิ่ม ทำให้เทคนิคทางการตลาด เช่น จำนวนคำสั่งซื้อขั้นต่ำ หรือข้อเสนอการจัดส่งฟรี โปรโมชันสามารถช่วยกระตุ้นคำสั่งซื้อ ซึ่งช่วยลดต้นทุนใน Supply Chain ได้อีกด้วย
4. Last Mile
จากการศึกษาของ University of Delaware พบว่าบริการ Last-mile คิดเป็น 28% ของค่าขนส่งทั้งหมด
สิ่งที่ต้องรู้คือ Last Mile อาจมีระยะที่ไกลกว่าความเป็นจริงมาก ซึ่งการส่งมอบขั้นสุดท้ายนี้ อาจจัดส่งผ่านทาง UPS, FedEx หรือผู้ให้บริการรายอื่น แต่สำหรับการจัดส่งแบบ B2B นั้น Last Mile อาจผ่านผู้ให้บริการขนส่งแบบ LTL
บริษัทอาจพิจารณาจากการตัดสินใจของลูกค้าในการเลือกวิธีจัดส่ง โดยการใช้กลยุทธ์ Last Mile ช่วยตอบสนองความต้องการต่อผู้บริโภคได้อย่างยั่งยืน และด้วยการแข่งขันที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ธุรกิจ E-Commerce เริ่มให้ความสำคัญกับ Last Mile ระยะทางสุดท้ายในการจัดส่งสินค้าก่อนถึงมือลูกค้า
5. Managing Returns
Managing Returns หรือที่เรียกว่า Reverse Logistics (โลจิสติกส์ย้อนกลับ) เป็นสิ่งที่ท้าทายที่สุดสำหรับธุรกิจ E-Commerce โดยมีค่าเฉลี่ยของ Return Rate ของร้านค้าปลีกอยู่ที่ 8-9% และธุรกิจ E-Commerce มี Reach อยู่ที่ 24-36% หัวข้อการขนส่ง
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าการจัดการคืนสินค้าอย่างเหมาะสม ผู้ค้าปลีกควรพิจารณาการจัดการสินค้าแบบย้อนกลับด้วยความระมัดระวังและการกำกับดูแลแบบเดียวกันกับการจัดการการซื้อครั้งแรก
นโยบายการคืนสินค้า เป็นเหตุผลจูงใจให้ผู้ซื้อสามารถซื้อด้วยความมั่นใจว่าจะไม่ติดอยู่กับผลิตภัณฑ์ที่ไม่ตรงกับความต้องการของพวกเขา อย่างไรก็ตาม องค์กรของคุณต้องมีความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับต้นทุนและผลกระทบด้านโลจิสติกส์ต่อผลตอบแทนเหล่านั้น คุณจ่ายค่าขนส่งคืนหรือไม่? คุณคิดค่าธรรมเนียมการเติมสินค้าหรือไม่?
กุญแจสำคัญประการหนึ่งของ Managing Returns คือการแยกออกจาก Supply Chain ของสินค้าที่อยู่ใน Process ใหม่ แม้แต่ส่วนเล็กๆ ในคลังสินค้าของคุณก็ตาม และมอบหมายให้พนักงานจัดการ Reverse Logistics โดยเฉพาะ อาจแยกเป็นคลังสินค้าขนาดเล็ก ในพื้นที่ที่ใช้ต้นทุนต่ำและมีความยืดหยุ่นในการส่งคืนและแยกจากสินค้าขาออก
6. Decentralized Warehousing
เทรนด์ล่าสุดของ E-Commerce กำลังทำให้สินค้าเข้าใกล้ลูกค้ามากขึ้น แทนที่จะดำเนินการตามคำสั่งซื้อจากศูนย์กระจายสินค้าที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ในภูมิภาคเพียงไม่กี่แห่ง บริษัทต่างๆ กลับใช้พื้นที่ในการอำนวยความสะดวกที่มีขนาดเล็กกว่า และอยู่ใกล้กับศูนย์กลางของประชากร ซึ่งพื้นที่อำนวยความสะดวกขนาดเล็กนี้จะตอบสนองต่อคำสั่งซื้อของลูกค้าได้ดีกว่าและสามารถลดเวลาในการจัดส่งได้
โดยกลยุทธ์นี้ช่วยลด Last Mile ระยะทางสุดท้ายก่อนส่งถึงมือลูกค้าได้ ซึ่งพื้นที่อำนวยความสะดวกเหล่านี้อาจเป็นคลังสินค้าขนาดเล็กหรือ Fulfillment Center หรือร้านค้าที่มีหน้าร้านจริงบางแห่งกำลังเปลี่ยนสถานที่ขายปลีกเป็นศูนย์การขนส่งด้วยเช่นกัน โดยมีพื้นที่บางส่วนหรือทั้งหมดเพื่อการเติมสินค้า การดำเนินงานแบบ Warehouse Anywhere ที่ยืดหยุ่นในกว่า 10,000 แห่งทั่วประเทศ ทำให้คุณสามารถวางสินค้าคงคลังได้ตรงจุดที่คุณต้องการ
กลยุทธ์สินค้าคงคลังแบบกระจาย ช่วยให้ธุรกิจ E-Commerce สามารถส่งสินค้าภายในวันเดียวกันหรือข้ามคืนในเมืองใหญ่ได้ ทำให้สามารถแข่งขันกับ Amazon ได้ในเรื่องเวลาในการจัดส่ง การลดระยะทางในการขนส่ง ซึ่งช่วยลดต้นทุนและปรับปรุงการบริการ บริการจัดส่งในพื้นที่เมืองใหญ่ และตัวเลือกการจัดส่งอื่นๆ ที่ไม่สามารถทำได้ในระยะทางที่ไกลกว่า
7. 3PL Relationships
ธุรกิจ E-Commerce ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ต้องใช้ Outsource ด้านโลจิสติกส์บางส่วนหรือทั้งหมด หรือที่เรียกว่า third-party logistics provider หรือ 3PL เข้ามาจัดการการจัดส่งสินค้าขาเข้า สต๊อกและติดตามสินค้าคงคลัง และจัดการทุกด้านของการปฏิบัติตามข้อกำหนด
3PL ทำให้ Warehouse Anywhere สามารถจัดการคลังสินค้า การปฏิบัติตามข้อกำหนด และการขนส่ง และรับประกันว่าประสบการณ์ของลูกค้าจะเป็นไปตามมาตรฐานแบรนด์ของคุณ มองหา 3PL ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการขายและการจัดการสินค้าคงคลังเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ของคุณ
3PL ทำหน้าที่เป็นพันธมิตรในเชิงกลยุทธ์ที่จะช่วยให้ผู้ค้าปลีกแข่งขันกับยักษ์ใหญ่ด้านดิจิทัลบางรายได้สำเร็จ
เส้นแบ่งระหว่างผู้ค้าปลีกออนไลน์และผู้ค้าปลีกจริงเริ่มแบ่งได้ยากขึ้น เนื่องจากร้านค้าออนไลน์เริ่มมีหน้าร้าน และผู้ค้าปลีกก็เพิ่มความสามารถด้าน E-Commerce มากขึ้น ไม่ว่าการเริ่มต้นของคุณจะอยู่ที่จุดใด E-Commerce Supply Chain เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับอนาคตของบริษัทของคุณ ซึ่งการทำความเข้าใจและใช้ประโยชน์จากแนวโน้มเหล่านี้จะช่วยให้มั่นใจได้ว่าคุณมีกลยุทธ์และความสัมพันธ์ที่จะสนับสนุนธุรกิจของคุณได้
อ้างอิงข้อมูลจาก : https://www.warehouseanywhere.com/resources/e-commerce-logistics/